วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


การวัดและประเมินผลการศึกษา


             
                ตัวของเจ้าของแฟ้ม (evidence of-reflection) สามารถนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินตามสภาพจริง (authentic assessment) โดยมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2 ประการ คือเพื่อให้เจ้าของแฟ้มได้ประเมินตนเองว่างานที่ทำเป็นอย่างไร มีระบบหรือไม่ และเพื่อให้ผู้อื่นได้ประเมินเจ้าของแฟ้มว่ามีความสามารถในการปฏิบัติงานในระดับใด


แฟ้มสะสมงานกับการประเมินตามสภาพจริง

             การประเมินตามสภาพจริงเป็นการประเมินความสามารถ ความรู้สึก และทักษะที่สอดคล้องกับชีวิตจริง โดยเน้นการประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่เน้นการประเมินทักษะความคิดซับซ้อนในการทำงานของผู้เรียน ความสามารถทางการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติในสภาพจริง อันเป็นการประเมินที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในฐานะเป็นผู้ค้นพบและผลิตความรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง
ผู้เรียนทำ เพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจและประเมินผู้เรียน ดังนั้น ผลงานที่ใช้ประเมินจากการคัดเลือกผลงานที่มีคูณค่าและท้าทายซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติ


 ลักษณะสำคัญของการประเมินตามสภาพจริง มีดังนี้  (ชัยฤทธิ์  ศิลาเดช 2549)
1.การประเมินตามสภาพจริงทำได้ตลอดเวลากับทุกสถานการณ์ ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และชุมชน โดยการสังเกตพฤติกรรมต่างๆของผู้เรียน
2.ไม่เน้นการประเมินผลทักษะพื้นฐาน แต่ให้ผู้เรียนผลิตหรือทำสิ่งที่เน้นทักษะการคิดที่ซับซ้อน การพิจารณาไตร่ตรอง การทำงานและการแก้ปัญหา โดยเน้นสภาพกับปัญหาที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน
3.ใช้ข้อมูลอย่างหลายเพื่อการประเมิน เพื่อรู้จักผู้เรียนทุกด้านโดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลซึ่งต้องมีหลากหลายประเภท และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งผู้เรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน สิ่งที่ประเมิน วิธีประเมิน ช่วงเวลาในการประเมินและเกณฑ์ในการประเมิน
4.การวัดและประเมินตามสภาพจริงยึดการปฏิบัติเป็นสำคัญ และมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอน และให้ความสำคัญกับการพัฒนาการของผู้เรียน



อ้างอิง   วัดและประเมินผลทางการศึกษา. อาจารย์ทรงเกียรติ   อิงคามระธร  พิมพ์ครั้งที่ 1